กฎหมายแพ่ง

กฎหมายแพ่ง (civil law)

0 Comments

กฎหมายแพ่ง (civil law) เป็นกฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลเกี่ยวกับสถานภาพ สิทธิ และหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วยนิติกรรม เอกเทศสัญญา ทรัพย์สิน ครอบครัว มรดก แต่งงาน เป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบระหว่างเอกชนในฐานะที่ทั้งสองฝ่ายเท่าเทียมกัน แม้รัฐจะเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นผู้จัดการบังคับให้เป็นไปตามคำเรียกร้องของฝ่ายที่เสียหาย แต่เมื่อบังคับได้แล้วก็จัดการคืนให้แก่ผู้เสียหาย กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายแพ่งที่ควรทราบ ได้แก่ กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับบุคคล กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา และกฎหมายแพ่งลักษณะครอบครัว กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับบุคคล                  1. บุคคลธรรมดา คือ มนุษย์ที่เกิดจากครรภ์มารดา เมื่อผู้ใดคลอดจากครรภ์มารดาและชีวิตอยู่รอดเป็นทารก กฎหมายถือว่าผู้นั้นมีสภาพบุคคล                 2. นิติบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร หรือทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็นกองทุนเพื่อดำเนินกิจการอันใดอันหนึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็นบุคคลอีกประเภทหนึ่งที่ไม่ใช่บุคคลธรรมดา นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติไว้นอกจากนี้นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่โดยสภาพจะพึงมีเป็นไปเฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น เช่น กระทรวง ทบวง กรม องค์การบริหารส่วนจังหวัด บริษัท สมาคม เป็นต้น กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา                  นิติกรรม หมายถึง การกระทำของบุคคลที่ชอบด้วยกฎหมายและใจสมัคร มุ่งผลในกฎหมายที่จะเกิดขึ้นจากการก่อสิทธิ […]