กฎหมายอาญา

กฎหมายอาญา (Criminal  Law)

0 Comments

กฎหมายอาญา (Criminal  Law) เป็นกฎหมายที่จะกำหนดเรื่องความผิด  และบทลงโทษไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ  เพราะรัฐมีหน้าที่รักษาความสงบของบ้านเมือง  กฎหมายอาญาจึงกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับราษฎรซึ่งกระทำความผิดขึ้น ลักษณะที่สำคัญของกฎหมายอาญา 1. ส่วนที่บัญญัติถึงความผิด  หมายความว่าได้บัญญัติถึงการกระทำ  และการงดเว้นกระทำการอย่างใดเป็นความผิดอาญา 2. ส่วนที่บัญญัติถึงโทษ  หมายความว่าบทบัญญัตินั้น ๆ นอกจากจะได้ระบุว่าการกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างใดเป็นความผิดแล้ว  ต้องกำหนดโทษอาญาสำหรับความผิดนั้น ๆ ไว้ด้วย หลักเกณฑ์สำคัญของประมวลกฎหมายอาญา   1. จะไม่มีความผิดโดยไม่มีกฎหมาย  หมายความว่า  กฎหมายอาญาจะใช้บังคับได้เฉพาะการกระทำซึ่งกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนี้ถือว่าเป็นความผิด  ถ้ากฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำไม่ถือว่าเป้ฯความผิดแล้ว  จะถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดไม่ได้  และจะลงโทษกันไม่ได้  หลักเรื่องกฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลังนี้  กฎหมายไม่ให้ย้อนหลังก็เฉพาะที่จะเป้ฯผลร้ายแก่ผู้กระทำความผิดเท่านั้น  เช่น  การกระทำความผิดใดที่ล่วงเลยการลงโทษ  หรือล่วงเลยอายุความฟ้องร้อง  แม้จะได้มีกฎหมายใหม่บัญญัติกำหนดอายุความมากขึ้นกว่าเดิม  ก็จะเอาตัวผู้กระทำมาฟ้องร้องลงโทษไม่ได้  แต่หากกฎหมายใหม่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดมากกว่ากฎหมายเก่าเช่นนี้  กฎหมายก็ให้มีผลย้อนหลังได้  เช่น ประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา 3 บัญญัติว่า  “ถ้ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด  ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด…” 2. จะไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย คือบุคคลจะต้องรับโทษต่อเมื่อมีกฎหมาย ที่ใช้อยู่ในขณะกระทำบัญญัติให้ต้องรับโทษนั้น ๆ เช่น การกระทำความผิดที่มีแต่โทษปรับ ศาลก็ลงโทษได้แต่โทษปรับ ศาลจะลงโทษจำคุกซึ่งไม่ใช้โทษที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่ได้ 3. […]

กฎหมายแพ่ง

กฎหมายแพ่ง (civil law)

0 Comments

กฎหมายแพ่ง (civil law) เป็นกฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลเกี่ยวกับสถานภาพ สิทธิ และหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วยนิติกรรม เอกเทศสัญญา ทรัพย์สิน ครอบครัว มรดก แต่งงาน เป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบระหว่างเอกชนในฐานะที่ทั้งสองฝ่ายเท่าเทียมกัน แม้รัฐจะเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นผู้จัดการบังคับให้เป็นไปตามคำเรียกร้องของฝ่ายที่เสียหาย แต่เมื่อบังคับได้แล้วก็จัดการคืนให้แก่ผู้เสียหาย กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายแพ่งที่ควรทราบ ได้แก่ กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับบุคคล กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา และกฎหมายแพ่งลักษณะครอบครัว กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับบุคคล                  1. บุคคลธรรมดา คือ มนุษย์ที่เกิดจากครรภ์มารดา เมื่อผู้ใดคลอดจากครรภ์มารดาและชีวิตอยู่รอดเป็นทารก กฎหมายถือว่าผู้นั้นมีสภาพบุคคล                 2. นิติบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร หรือทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็นกองทุนเพื่อดำเนินกิจการอันใดอันหนึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็นบุคคลอีกประเภทหนึ่งที่ไม่ใช่บุคคลธรรมดา นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติไว้นอกจากนี้นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่โดยสภาพจะพึงมีเป็นไปเฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น เช่น กระทรวง ทบวง กรม องค์การบริหารส่วนจังหวัด บริษัท สมาคม เป็นต้น กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา                  นิติกรรม หมายถึง การกระทำของบุคคลที่ชอบด้วยกฎหมายและใจสมัคร มุ่งผลในกฎหมายที่จะเกิดขึ้นจากการก่อสิทธิ […]

กฎหมาย

กฎหมายคืออะไร

0 Comments

“กฎหมาย” หมายถึงคำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์  ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืน มีสภาพบังคับ กฎหมายต้องมีลักษณะทั้งหมด  ๕ ประการดังนี้ 1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ     หมายความว่า  กฎหมายนั้นต้องอยู่ในรูปของคำสั่ง  คำบัญชา  อันเป็นการแสดงออกซึ่งความประสงค์ของผู้มีอำนาจในลักษณะเป็นการบังคับ  เพื่อให้บุคคลอีกคนหนึ่งปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติ  มิใช่เป็นการประกาศชวนเชิญเฉย ๆ  เช่น  ในสมัย  จอมพล ป. พิบูลสงคราม  เป็นนายกรัฐมนตรี  รัฐบาลได้ประกาศเชิญชวนคนไทยให้สวมหมวก  เลิกกินหมากและให้นุ่งผ้าซิ่นแทนผ้าโจงกระเบน  ประกาศนี้แจ้งให้ประชาชนทราบว่ารัฐบาลนิยมให้ประชาชนปฏิบัติอย่างไร  มิได้บังคับจึงไม่เป็นกฎหมาย 2. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากรัฏฐาธิปัตย์     รัฎฐาธิปัตย์คือ  ผู้ที่ประชาชนส่วนมากยอมรับนับถือว่าเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน  โดยที่ไม่ต้องฟังอำนาจจากผู้ใดอีก  ดังนี้รัฎฐาธิปัตย์จึงไม่ต้องพิจารณาถึงที่มาหรือลักษณะการได้อำนาจว่าจะได้อย่างไร  แม้จะเป็นการปฏิวัติหรือรัฐประหารก็ตามถ้าหากคณะปฏิวัติหรือคณะรัฐประหารเป็นรัฎฐาธิปัตย์ที่สามารถออกคำสั่ง  คำบัญชาในฐานะเป็นกฎหมายของประเทศได้ 3. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป     หมายความว่า  กฎหมายต้องเป็นเรื่องที่เมื่อประกาศใช้แล้วจะมีผลบังคับเป็นการทั่วไป  ไม่ใช่กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่ง  หรือให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดปฏิบัติตามเท่านั้น  ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีอายุ  เพศ  หรือฐานะอย่างไรก็ตกอยู่ภายใต้ของการใช้บังคับกฎของกฎหมายอันเดียวกัน  (โดยไม่เลือกปฏิบัติ)  เพราะบุคคลทุกคนมีความเสมอภาคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน  แม้กฎหมายบางอย่างอาจจะมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ประโยชน์แก่บุคคล  หรือวางความรับผิดชอบให้แก่คนบางหมู่เหล่า  แต่ก็ยังอยู่ในความหมายที่ว่าใช้บังคับทั่วไปอยู่เหมือนกัน  เพราะคนทั่ว […]